พระราชวังหลวงกู้กง
พระราชวังหลวงกู้กง หรือที่รู้จักกันในชื่อต่างๆดังนี้ พิพิธภัณฑ์พระราชวัง, พระราชวังต้องห้าม ,紫禁城,Zǐjìn Chéng, จื่อจิ้นเฉิง,Forbidden City, Gu Gong, Imperial Palace,เมืองต้องห้ามสีม่วง
ซึ่งพระราชวังนี้ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ. 1406 สร้างโดยจักรพรรดิหย่งเล่อซึ่งเป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิหงอู่ซึ่งเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์หมิง ต่อมาในปี พ.ศ. 2187 ได้เกิดจลาจลขึ้นทำให้พระราชวังสมัยราชวงศหมิงเสียหายไป และเมื่อราชวงศ์ชิงขึ้นครองอำนาจต่อจากราชวงศ์หมิง ทางราชวงศ์ชิงก็ได้ก่อสร้างสร้างขึ้นมาใหม่บนฐานสิ่งก่อสร้างเดิม ทำให้พระราชวังกลายมาเป็นจุดศูนย์กลางอำนาจของจีนอีกครั้งหนึ่งเรื่อยมาจนถึงการล่มสลายของราชวงศ์ชิง และการเปลี่ยนมาเป็นระบอบสาธารณรัฐ
พระราชวังครอบคลุมพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร อาคาร 800 หลัง มีห้องทั้งหมด 9,999 ห้อง และมีพระที่นั่ง 75 องค์ หอพระสมุด ห้องหับต่างๆอีกมาก รวมทั้งยังมีสวน ลานกว้าง ทางเดินเชื่อมกันโดยตลอด มีคูและกำแพงที่สูงถึง 11 เมตร ล้อมรอบ ใช้ระยะก่อสร้างประมาณ 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1949 จนถึง พ.ศ. 1963
สถานที่ตั้งและรายละเอียดของพระราชวัง
>> ตั้งอยู่ด้านหลังพลับพลาเทียนอันเหมิน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือจรดใต้ 961 เมตร กว้าง 753 เมตร มีกำแพงวังล้อมรอบ ยาว 3 กิโลเมตร สูง 10 เมตร มีคูน้ำล้อมรอบ กว้าง 52 เมตร มีประตูวัง 4 ประตู 4 ทิศ มีป้อมหอคอยกำแพงวังอยู่ 4 มุม มีพื้นที่ทั้งหมด 724,250 ตารางเมตร มีตำหนักน้อยใหญ่ถึง 9,999 ห้อง
>>สร้างในสมัยพระเจ้าหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง เมื่อปี ค.ศ. 1406 เป็นที่ประทับของกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิงและชิง รวมทั้งสิ้น 24 พระองค์ มีการบูรณะซ่อมแซมไปหลายครั้ง แต่ยังคงสถาปัตยกรรมเดิม มีความสมบูรณ์แบบที่สุด ใหญ่ที่สุดและรักษาไว้ได้ดีที่สุด รวมทั้งมีประวัติที่ยาวนานที่สุดในโลกอีกด้วย
- ภายในพระราชวังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ วังหน้าและวังใน
- วังหน้าเป็นเขตที่ฮ่องเต้ออกว่าราชการ จัดงานพิธีต่างๆ รับเข้าเฝ้า
- วังในเป็นเขตหวงห้าม ผู้ชายห้ามเข้า ยกเว้นขันทีเท่านั้น
>> วังหน้ามี 3 ตำหนัก เป็นศูนย์กลางที่สร้างอยู่บนเส้นแกนตรงกันเป็นเส้นตรง ดังนี้
1.ตำหนักไถ่เหอ เป็นตำหนักด้านหน้าที่สำคัญที่สุดและใหญ่ที่สุดในพระราชวังหลวง ตั้งอยู่บนแท่นหินหยกขาวยกพื้นสูง 2 เมตรเศษ ล้อมรอบด้วยรั้วหินหยกขาว แกะสลักเป็นเมฆ มังกร และหงส์ สร้างในปีค.ศ. 1420 สมัยของพระเจ้าหย่งเล่อ กว้าง 11 เมตร ลึก 5 เมตร หลังคาซ้อน 2 ชั้น สูง 35 เมตร พื้นที่ 2,377 ตารางเมตร ปูด้วยอิฐ(ที่นวดด้วยแป้งทองคำ) ตรงกลางมีบัลลังก์มังกรสีทอง(มังกร 5 เล็บ สัญลักษณ์ของฮ่องเต้อันสูงส่ง) ใช้เป็นสถานที่ฮ่องเต้ออกว่าราชการแผ่นดินรับการเข้าเฝ้าจากขุนนางขุนศึก ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองและอาคันตุกะชาวต่างต่างประเทศ หลังคามุงกระเบื้องสีทอง(สีเฉพาะของฮ่องเต้เท่านั้น)
2.ตำหนักจงเหอ เป็นตำหนักหลังที่ 2 อยู่ด้านหลังตำหนักไถ่เหอ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมียอดแหลม ใช้เป็นสถานที่พักรอก่อนออกว่าราชการแผ่นดิน รับการรายงานจากข้าหลวงชั้นใน รวมทั้งพิธีการจัดงานเข้าเฝ้า หากมีงานพิธีแต่งตั้งพระราชินีและจัดงานใหญ่ในพระราชวังจะต้องตรวจเอกสารความเรียบร้อยของงาน ณ ตำหนักแห่งนี้ล่วงหน้า 1 วัน
3.ตำหนักเป่าเหอ เป็นตำหนักหลังที่ 3 อยู่หลังตำหนักจงเหอ เป็นตำหนักใหญ่ มีพื้นที่เท่ากับตำหนักไถ่เหอ ภายในมีบัลลังก์ก่อสร้างโดยไม่มีเสาแถวที่ 2 ทำให้ห้องโถงด้านหน้าท้องพระโรงกว้างขึ้น ไม่บังสายพระเนตรพระองค์ฮ่องเต้ ใช้เป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงรับรองบรรดาหัวหน้าชนเผ่ากลุ่มน้อยต่างๆทุกปี ในวันที่ 30 เดือน 12 (วันสิ้นปีของจีน) พิธีอภิเษกสมรสของฮ่องเต้หรือโอรสธิดา มาถึงในสมัยพระเจ้าเฉียนหลงใช้ที่นี่เป็นสถานที่สอบจอหงวน องค์ฮ่องเต้เป็นผู้ออกข้อสอบและคุมสอบด้วยพระองค์เอง โดยสอบในห้องท้องพระโรงแห่งนี้เอง
ผู้ที่สอบได้ที่ 1 มีเพียงคนเดียวเท่านั้น จะได้เป็น “จอหงวน” และเป็นลูกเขยของฮ่องเต้
ผู้ที่สอบได้ที่ 2 อาจมีหลายคน จะได้เป็น “ท่านฮั้ว” เป็นที่ปรึกษาประจำองค์ฮ่องเต้
>> วังใน เป็นเขตต้องห้ามสำหรับผู้ชาย ทาสเพศชายที่จะเข้ามารับใช้ในวังได้นั้นต้องผ่านขั้นตอนการตอนให้เป็นขันทีเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องเสื่อมเสียกับมเหสีและเหล่านางสนมใน ขันทีมาจากชนชั้นยากจนเสียเป็นส่วนใหญ่ พวกพ่อค้าทาสจะลักพาตัวมาตั้งแต่เด็ก แล้วส่งไปให้คนของตระกูลไป่ในกรุงปักกิ่งทำการตอน ตอนเสร็จแล้วก็มีการออกใบรับรองส่งให้ราชสำนัก ขันทีที่ฉลาดมีการศึกษาอาจได้เป็นกุนซือหรืออาจารย์ในวังหลวง แต่ขันทีส่วนใหญ่ต้องทำงานหนักในโรงครัวและในสวนไปตลอดชีวิต ทำผิดเล็กน้อยก็จะถูกโบยถูกเฆี่ยนตี ทำผิดมากโชคไม่ดีก็อาจถูกตัดหัวได้ง่าย
>> การได้เข้ามารับใช้ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์ ทำให้ขันทีบางคนสามารถกุมอำนาจเอาไว้ได้ สร้างความร่ำรวยให้ตนเองใช้ตำแหน่งใหญ่โตสร้างอิทธิพล แสวงหาทรัพย์สินเงินทองในทางมิชอบ จนสามารถซื้อบ้าน ที่ดิน ทำธุรกิจการค้านอกวังหลวง พอเกษียณแล้วจะย้ายออกไปอยู่ตามวัดที่ตนเองเคยให้การอุปถัมภ์ด้วยการบริจาคเงินจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอ ในยุคราชวงศ์หมิงมีขันทีอยู่ในพระราชสำนักถึง 20,000 คน แต่ภายหลังก็ค่อยๆลดจำนวนลงจนเหลือเพียง 1,500 คน ในรัชกาลสุดท้ายก่อนที่ราชวงศ์ชิงจะล่มสลายเมื่อปี ค.ศ. 1991
>>การตอนหรือการตัดอวัยวะเพศทิ้งก็ใช่จะให้ผลเป็นที่น่าเชื่อถือได้เสมอไป ข่าวลือเรื่องการลักลอบมีความสัมพันธ์กันระหว่างขันทีกับนางกำนัลก็มีให้ได้ยินอยู่บ่อยครั้ง คนทั่วไปมองขันทีว่าเป็นพวกน่าสมเพช มักถูกดูหมิ่นอยู่เสมอ เพราะ การเป็นคนที่ไม่สามารถเพื่อมีบุตรสืบสกุลได้นั้นย่อมถูกเหยียดหยามเป็นธรรมดา
>>ดังนั้นพวกขันทีที่มีอำนาจมากๆ ก็จะซื้อบ้านเอาไว้นอกพระราชวังหลวง ทำบันทึกอ้างอิงถึงการสืบทอดวงศ์ตระกูลลงมาเป็นรุ่นๆ โดยมีการซื้อสตรีและทารกมาเป็นภรรยาและบุตร ซื้อบ่าวทาสหรือแม้กระทั่งนางบำเรอหลายๆคนมาไว้ข้างกาย
>>การตอนหรือการตัดอวัยวะเพศทิ้งก็ใช่จะให้ผลเป็นที่น่าเชื่อถือได้เสมอไป ข่าวลือเรื่องการลักลอบมีความสัมพันธ์กันระหว่างขันทีกับนางกำนัลก็มีให้ได้ยินอยู่บ่อยครั้ง คนทั่วไปมองขันทีว่าเป็นพวกน่าสมเพช มักถูกดูหมิ่นอยู่เสมอ เพราะ การเป็นคนที่ไม่สามารถเพื่อมีบุตรสืบสกุลได้นั้นย่อมถูกเหยียดหยามเป็นธรรมดา
>>ดังนั้นพวกขันทีที่มีอำนาจมากๆ ก็จะซื้อบ้านเอาไว้นอกพระราชวังหลวง ทำบันทึกอ้างอิงถึงการสืบทอดวงศ์ตระกูลลงมาเป็นรุ่นๆ โดยมีการซื้อสตรีและทารกมาเป็นภรรยาและบุตร ซื้อบ่าวทาสหรือแม้กระทั่งนางบำเรอหลายๆคนมาไว้ข้างกาย
>> เขตพระราชวังชั้นใน(วังใน) ประกอบด้วยตำหนักเฉียนชิงกง เจียวไถ่เตี่ยน คุนหมิงกง ตำหนักตะวันออกและตะวันตก เป็นสถานที่ที่ฮ่องเต้ดำเนินการประจำวันทางการเมือง อาทิ ตรวจเอกสาร ลงพระนามอนุมัติ ตัดสินความ และเป็นสถานที่พักอาศัยของพระราชวงศ์ พระราชินี พระสนม พระโอรส และพระธิดา รวมไปถึงมีพระราชอุทยานของฮ่องเต้ เขตวังในจะมีพระตำหนักที่มีความสำคัญอยู่ 2 หลังคือ
>>เฉียนชิงกง เป็นตำหนักด้านหน้าของวังใน เป็นที่ประทับของฮ่องเต้ เพื่อตรวจเอกสารลงพระนามอนุมัติราชการแผ่นดินประจำวัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1644 ทหารและชาวนาของหลี่จื้อเฉินทำการปฏิวัติ นำกำลังบุกเข้าปักกิ่ง ซึ่งตรงกับรัชกาลฮ่องเต้องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์หมิง พระเจ้าจูหยิวเจี่ยนชักกระบี่ฟันพระธิดาของพระองค์จนขาดสะพายแล่ง แล้วทรงหนีออกจากพระราชวังไปแขวนคอตายที่ต้นสน ณ ภูเขาเหมยซาน(ปัจจุบันเรียกว่า ภูเขาจิ่งซาน) ซึ่งอยู่ด้านหลังพระราชวังหลวง
>> หย่างซินเตี้ยน เป็นตำหนักอยู่บริเวณด้านตะวันตกเฉียงใต้ของวังใน เป็นที่ประทับของฮ่องเต้ นัดพบปะพูดคุยกับพวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทั้งเรื่องการเมืองและการทหารในรัชสมัยพระเจ้าถงจื้อและกวางซี่ใช้เป็นสถานที่ออกว่าราชการหลังม่านของพระนางซูสีไทเฮา รวมทั้งในสมัยฮ่องเต้องค์สุดท้าย เมื่อครั้งที่ ดร.ซุนยัดเซ็นทำการปฏิวัติ จักพรรดิปูยีก็ทรงสละราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1962 ณ ตำหนักแห่งนี้
>> สำหรับประตูทางเข้าด้านหน้าของพระราชวังหลวงหลังพลับพลาเทียนอันเหมิน ทางด้านทิศใต้ของพระราชวังจะมีซุ้มประตูไถ่เหอ แนวกำแพงวังประกอบด้วยประตูใหญ่อยู่ตรงกลาง ประตูเล็ก 2 ข้าง รวม 3 ประตู ประตูมีความลึกถึง 28 เมตร ประตูใหญ่ตรงกลางเป็นประตูเข้าเฉพาะฮ่องเต้เพียงพระองค์เดียว คนอื่นห้ามเดินออกเด็ดขาด ใครฝ่าฝืนเดินออกจะถูกประหารชีวิต คนอื่นเดินออกได้เพียงประตูเดียวเท่านั้นคือประตูด้านทิศเหนือชื่อ “เสินอู่เหมิน” (ประตูหลัง)
>>ประตูใหญ่ตรงกลาง ในชั่วชีวิตของพระราชินีมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่จะได้เดินผ่านเข้าประตูนี้คือ วันอภิเษกสมรส นอกนั้นขุนนางและพระราชวงศ์ทุกพระองค์จะเดินเข้าพระราชวังทางประตูเล็กทั้งสองข้างเท่านั้น
โครงสร้างและสถาปัตยกรรม
พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่บนหัวใจปักกิ่ง (the heart of Beijing) นักดาราศาสตร์ชาวจีนโบราณสร้างให้ที่ตั้งนี้เป็นเครื่องหมายแห่งจักรวาล
การก่อสร้างพระราชวังต้องห้ามใช้ช่างฝีมือกว่าหนึ่งแสนคน คนงานมากกว่าหนึ่งล้านคน ไม้ที่ใช้เป็นไม้หนามมู่ เป็นไม้เนื้อแข็งชั้นดี เอามาจากมณฑลซื่อชวน กว่างตง และยูนาน ส่วนไม้ซุงขนมาจากซื่อชวน เจียงซี เจ๋อเจียง ส่านซี และฮูนาน การตัดและการขนย้ายเป็นเรื่องสุดโหด ไม้เมื่อตัดแล้ว จะต้องทิ้งไว้บนเขาอย่างนั้น รอให้น้ำป่าหลากทะลักพัดมันลงมาเอง จากนั้นจึงค่อยบรรทุกขึ้นเรือมาปักกิ่ง
หินที่ใช้ในการก่อสร้าง นำมาจากฟ่างซาน การขนย้ายต้องจ้างชาวไร่ ขาวนา ในการขนย้ายหินถึง 20,000 คน หินแต่ละก้อนยาว 10 เมตร กว้าง 3 เมตร หนา 1.6 เมตร หากเคลื่อนย้ายผ่านภูมิภาคที่เป็นน้ำแข็ง ต้องราดน้ำลงไปเพื่อให้น้ำแข็งละลาย เมื่อมาถึงปักกิ่ง ต้องใช้ม้าและล่อลากหินเป็นพันๆตัว
อิฐนำมาจากหลินจิ้ง ในมณฑลซานตง การสร้างต้องใช้อิฐมากกว่าสิบล้านก้อน เพื่อใช้ปูพื้นพระราชวัง และขั้นตอนในการปูพื้นมีกรรมวิธีกว่ายี่สิบขั้นตอน แต่ละพื้นที่ใช้เวลาปูพื้นร่วมปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น