พระราชวังฤดูร้อน หรือ อี้เหอหยวน
พระราชวังฤดูร้อน หรือ อี๋เหอหยวน (จีนตัวเต็ม: 頤和園; จีนตัวย่อ: 颐和园; พินอิน: Yíhé Yuán; Gardens of Nurtured Harmony) เป็นพระราชวังอยู่ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพระราชวังหยวนหมิงหยวน ซึ่งห่างจากพระราชวังต้องห้ามไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 8 กิโลเมตร
อี๋เหอหยวนมีพื้นที่ประมาณ 2.9 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเนินเขาสูง 60 เมตร มีพระตำหนักอยู่บนเนิน และทะเลสาบคุนหมิง มีเนื้อที่ประมาณ 2.2 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 3 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยทะเลสาบนี้เกิดจากการใช้แรงงานคน ขุดดินขึ้นไปถมเป็นเนินเขา สำหรับสร้างพระตำหนัก
>>พระราชวังแห่งนี้เป็นวังกึ่งอุทยานที่สวยงามมาก สร้างขึ้นประมาณ 800 ปีแล้วสมัยราชวงศ์จิ๋น แต่ผู้ที่ทำให้สิ่งก่อสร้างในนี้สวยงามเป็นที่เลื่องลือ ก็คือพระนางซูสีไทเฮาแห่งราชวงศ์ชิง อันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีน ชื่อเดิมมีเปลี่ยนกันไปหลายชื่อ แต่พระนางตั้งชื่อให้ใหม่ว่า อี้เหอหยวน แปลว่าอุทยานเพื่อพลานามัยอันผสมกลมกลืนกันได้ด้วยดี
เมื่อเดินเข้าไปในบริเวณ สิ่งแรกที่เห็นคือทะเลสาบกว้างใหญ่ ซึ่งเกิดจากแรงงานคนขุดขึ้นมา แล้วเอาดินที่ขุดพูนขึ้นไปเป็นเนินเขาข้างทะเลสาบนั้นเอง ผู้สร้างคือฮ่องเต้เฉียนหลง ใช้ในการฝึกซ้อมทัพเรือ
>>เมื่อศตวรรษที่ 12
จักรพรรดิองค์หนึ่งแห่งราชวงศ์จินทรงมีพระราชโองการให้สร้างที่ประทับแรมขึ้นที่นี่เป็นครั้งแรก
ต่อมาในหลายราชวงศ์มีการสร้างเสริมเติมต่อหลายครั้ง
พระจักรพรรดิเฉียงหรงแห่งราชวงศ์ชิงทรงมีพระราชโองการให้สร้างขยายอุทยานแห่งนี้ให้กว้างออกไปและทรงให้ชื่อว่า
อุทยาน "ชิงอีหยวน" เมื่อ ค.ศ. 1860 อุทยานแห่งนี้ถูกทหารพันธมิตร
อังกฤษ - ฝรั่งเศสเผาทําลาย ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1888
พระนางซูสีได้ใช้งบประมาณกองทัพเรือของชาติซี่งเป็นเงินแท่ง 5
ล้านตําลึงมาสร้างอุทยานนี้ขึ้นใหม่ และเปลี่ยนชื่อเป็น
"อี้เหอหยวน" อุทยานนี้มีชื่อเลื่องลือไปทั่วโลก
ก็ด้วยมีทิวทัศน์สวยงาม
>>อุทยานอี้เหอหยวนประกอบด้วยสองส่วนคือ เขา "ว่านโซ่วซาน" และ
ทะเลสาบ "คุนหมิงหู" บนเขาว่านโซ่วซานได้สร้างวิหาร ตำหนัก พลับพลา
และเก๋งจีนอันงดงามไว้หลายรูปหลายแบบ
ตั้งอยู่ลดหลั่นรับกันกับภูมิภาพ
ที่เชิงเขามีระเบียงทางเดินที่มีระยะทางไกลถึง ๗๒๘ เมตร
ลัดเลาะไปตามริมทะเลสาบคุนหมิงหู ในทะเลสาบคุนหมิงหูมีเกาะเล็ก ๆ
เกาะหนึ่ง มี สะพาน 17 โค้งอันสวยงามเชื่อมติดกับฝั่ง
ทั่วทั้งอุทยานจัดไว้ได้สัดส่วนงดงามตระการตาซึ่งแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของศิลปะในการสร้างอุทยานของจีน
>>ปีค.ศ.1860 สวนชิงอีหยวนถูกเผาทำลายโดยกองทหารอังกฤษและฝรั่งเศส ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ในปีค.ศ.1866 และเปลี่ยนชื่อมาเป็น 'อี๋เหอหยวน' ต่อมาได้ถูกกองทหารพันธมิตรของมหาอำนาจจักรวรรดินิยม 8 ประเทศ เผาทำลายอีกครั้งในปีค.ศ.1900 หลังจากนั้นราว 3 ปี จึงมีการบูรณะขึ้นอีกครั้ง
>>ปีค.ศ.1908 ภายหลังที่พระนางซูสีไทเฮาและจักรพรรดิกวงสูเสด็จสวรรคต พระราชวังฤดูร้อนที่ผ่านมรสุมมายาวนานก็ได้ยุติการรับใช้ราชสำนักชิง และเมื่อปีค.ศ.1911 ปีที่การปฏิวัติซินไฮ่ ล้มล้างราชสำนักแมนจูอุบัติขึ้น ‘สวนแห่งราชสำนักอี๋เหอหยวน’ ก็ได้ปิดฉากลง ตามการล่มสลายของราชวงศ์ชิง ก่อนที่จีนจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ และได้รับการประกาศเป็นสวนสาธารณะในปี ค.ศ. 1924 โดยอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาเที่ยวชมได้
>>สิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่กล่าวถึง คือ ศาลาแปดเหลี่ยมที่มีชื่อตามความงามในฤดูกาลทั้งสี่ ได้แก่ หอหลิวเจีย ฉีหลาน ชิวซุ่ย และชิงเหยา ปีค.ศ.1990 ระเบียงยาวแห่งนี้ได้รับการบันทึกให้เป็นระเบียงที่ประดับภาพเขียนที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งมีความยาวถึง 728 เมตร แบ่งเป็น 273 ช่วง แต่ละช่วงมีการแสดงภาพเขียนทิวทัศน์ธรรมชาติ ดอกไม้ และนกนานาชนิด
>> ปัุจจุบันพระราชวังนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งผู้มาเยือนกรุงปักกิ่งมักจะ ต้องหาโอกาสไปชม ทั้งนี้เนื่องจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันโด่งดังของการสร้างพระราชวัง โดยเฉพาะในเรื่องที่ พระนางซูสีไทเฮาเบียดบังเอางบประมาณสร้างกองทัพเรือมาบูรณะอุทยานแห่งนี้ ตลอดจนชื่อเสียงในด้านความงามของทิวทัศน์และสิ่งก่อสร้างภายในอุทยาน ไม่ว่าจะเป็นทะเลสาบคุนหมิงหู ภูเขาวั่นโซ่วซานหรือระเบียงยาว “ฉางหลาง” ที่มองเห็นทะเลสาบอยู่ทางด้านหนึ่ง ขณะที่อีกด้านเป็นภูเขา และอุทยานอี้เหอหยวนยังมีจุดที่น่าไปเยี่ยมชมเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ “ถนนซูโจว”ที่เป็นร้านค้าริมฝั่งคลองแบบภาคใต้ของจีน ซึ่งสร้างขึ้นภายในเขตพระราชฐาน เอกลักษณ์อีกสิ่งหนึ่งของพระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน คือ ระเบียงยาว ที่ทอดตัวยาวคดเคี้ยวบนริมฝั่งทะเลสาบคุนหมิงทางทิศเหนือ มีรูปแบบการก่อสร้างที่มีความพิเศษ คือ ภายในระเบียงด้านในมีการเขียนลวดลายเป็นภาพวาดสีสันแพรวพราวกว่า 15,000 ภาพ ด้านนอกระเบียงสร้างเป็นศาลาพักร้อน หอชมสวน เก๋งจีนเชื่อมต่อตลอดความยาวของระเบียงเป็นระยะๆ สำหรับใครที่มีโอกาสไปปักกิ่งก็อย่าพลาดที่จะไปเที่ยวชม "พระราชวังฤดูร้อน" แห่งนี้ด้วยนะคะ
>>ปีค.ศ.1860 สวนชิงอีหยวนถูกเผาทำลายโดยกองทหารอังกฤษและฝรั่งเศส ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ในปีค.ศ.1866 และเปลี่ยนชื่อมาเป็น 'อี๋เหอหยวน' ต่อมาได้ถูกกองทหารพันธมิตรของมหาอำนาจจักรวรรดินิยม 8 ประเทศ เผาทำลายอีกครั้งในปีค.ศ.1900 หลังจากนั้นราว 3 ปี จึงมีการบูรณะขึ้นอีกครั้ง
>>ปีค.ศ.1908 ภายหลังที่พระนางซูสีไทเฮาและจักรพรรดิกวงสูเสด็จสวรรคต พระราชวังฤดูร้อนที่ผ่านมรสุมมายาวนานก็ได้ยุติการรับใช้ราชสำนักชิง และเมื่อปีค.ศ.1911 ปีที่การปฏิวัติซินไฮ่ ล้มล้างราชสำนักแมนจูอุบัติขึ้น ‘สวนแห่งราชสำนักอี๋เหอหยวน’ ก็ได้ปิดฉากลง ตามการล่มสลายของราชวงศ์ชิง ก่อนที่จีนจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ และได้รับการประกาศเป็นสวนสาธารณะในปี ค.ศ. 1924 โดยอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาเที่ยวชมได้
>>สิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่กล่าวถึง คือ ศาลาแปดเหลี่ยมที่มีชื่อตามความงามในฤดูกาลทั้งสี่ ได้แก่ หอหลิวเจีย ฉีหลาน ชิวซุ่ย และชิงเหยา ปีค.ศ.1990 ระเบียงยาวแห่งนี้ได้รับการบันทึกให้เป็นระเบียงที่ประดับภาพเขียนที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งมีความยาวถึง 728 เมตร แบ่งเป็น 273 ช่วง แต่ละช่วงมีการแสดงภาพเขียนทิวทัศน์ธรรมชาติ ดอกไม้ และนกนานาชนิด
>> ปัุจจุบันพระราชวังนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งผู้มาเยือนกรุงปักกิ่งมักจะ ต้องหาโอกาสไปชม ทั้งนี้เนื่องจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันโด่งดังของการสร้างพระราชวัง โดยเฉพาะในเรื่องที่ พระนางซูสีไทเฮาเบียดบังเอางบประมาณสร้างกองทัพเรือมาบูรณะอุทยานแห่งนี้ ตลอดจนชื่อเสียงในด้านความงามของทิวทัศน์และสิ่งก่อสร้างภายในอุทยาน ไม่ว่าจะเป็นทะเลสาบคุนหมิงหู ภูเขาวั่นโซ่วซานหรือระเบียงยาว “ฉางหลาง” ที่มองเห็นทะเลสาบอยู่ทางด้านหนึ่ง ขณะที่อีกด้านเป็นภูเขา และอุทยานอี้เหอหยวนยังมีจุดที่น่าไปเยี่ยมชมเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ “ถนนซูโจว”ที่เป็นร้านค้าริมฝั่งคลองแบบภาคใต้ของจีน ซึ่งสร้างขึ้นภายในเขตพระราชฐาน เอกลักษณ์อีกสิ่งหนึ่งของพระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน คือ ระเบียงยาว ที่ทอดตัวยาวคดเคี้ยวบนริมฝั่งทะเลสาบคุนหมิงทางทิศเหนือ มีรูปแบบการก่อสร้างที่มีความพิเศษ คือ ภายในระเบียงด้านในมีการเขียนลวดลายเป็นภาพวาดสีสันแพรวพราวกว่า 15,000 ภาพ ด้านนอกระเบียงสร้างเป็นศาลาพักร้อน หอชมสวน เก๋งจีนเชื่อมต่อตลอดความยาวของระเบียงเป็นระยะๆ สำหรับใครที่มีโอกาสไปปักกิ่งก็อย่าพลาดที่จะไปเที่ยวชม "พระราชวังฤดูร้อน" แห่งนี้ด้วยนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น