วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
รวมวิธีดูแลสุขภาพ: พอกหน้าด้วยสับปะรด
รวมวิธีดูแลสุขภาพ: พอกหน้าด้วยสับปะรด: พอกหน้าด้วย "สับปะรด" สวัสดีค่า^^ วันนี้เราจะนำสับปะรดซึ่งเป็นผลไม้ไทยที่ใครๆก็รู้จักมาพอกหน้าให้ขาวเนียนกระจ่างใสและไม่มันกันค...
รวมวิธีดูแลสุขภาพ: กระชับรูขุมขนด้วย มะเขือเทศ
รวมวิธีดูแลสุขภาพ: กระชับรูขุมขนด้วย มะเขือเทศ: กระชับรูขุมขนด้วย มะเขือเทศ สวัสดีค่า ^^ วันนี้ เสนอเคล็ดลับว่าด้วยเรื่อง "มะเขือเทศ" ด้วยคุณสมบัติของมะเขือเทศ...
วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
รวมวิธีดูแลสุขภาพ: 5 ข้อที่ควรรู้ เพื่อสุขภาพผิวที่ดี
รวมวิธีดูแลสุขภาพ: 5 ข้อที่ควรรู้ เพื่อสุขภาพผิวที่ดี: สวัสดีค่าูู^^ 5 ข้อที่ควรรู้ เพื่อสุขภาพผิวที่ดี นะคะ บางคนอาจจะไม่รู้ พอมารู้ตัวอีกทีก็กลับกลายเป็นว่าตัวเองนั้นได้พลาดพลั้งท...
รวมวิธีดูแลสุขภาพ: อาหารที่กินแล้ว "ขาใหญ่"
รวมวิธีดูแลสุขภาพ: อาหารที่กินแล้ว "ขาใหญ่": สวัสดีค่า^^ วันนี้เสนอเรื่อง!!!!!!!! ขาใหญ่ รู้ไหมคะว่าการที่คนเรากินอาหารประเภท ยำ ส้มตำ และเมนูอาหารรสเผ็ดจัดจ้านจานน...
วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555
พระราชวังฤดูร้อน หรือ อี้เหอหยวน
พระราชวังฤดูร้อน หรือ อี้เหอหยวน
พระราชวังฤดูร้อน หรือ อี๋เหอหยวน (จีนตัวเต็ม: 頤和園; จีนตัวย่อ: 颐和园; พินอิน: Yíhé Yuán; Gardens of Nurtured Harmony) เป็นพระราชวังอยู่ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพระราชวังหยวนหมิงหยวน ซึ่งห่างจากพระราชวังต้องห้ามไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 8 กิโลเมตร
อี๋เหอหยวนมีพื้นที่ประมาณ 2.9 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเนินเขาสูง 60 เมตร มีพระตำหนักอยู่บนเนิน และทะเลสาบคุนหมิง มีเนื้อที่ประมาณ 2.2 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 3 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยทะเลสาบนี้เกิดจากการใช้แรงงานคน ขุดดินขึ้นไปถมเป็นเนินเขา สำหรับสร้างพระตำหนัก
>>พระราชวังแห่งนี้เป็นวังกึ่งอุทยานที่สวยงามมาก สร้างขึ้นประมาณ 800 ปีแล้วสมัยราชวงศ์จิ๋น แต่ผู้ที่ทำให้สิ่งก่อสร้างในนี้สวยงามเป็นที่เลื่องลือ ก็คือพระนางซูสีไทเฮาแห่งราชวงศ์ชิง อันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีน ชื่อเดิมมีเปลี่ยนกันไปหลายชื่อ แต่พระนางตั้งชื่อให้ใหม่ว่า อี้เหอหยวน แปลว่าอุทยานเพื่อพลานามัยอันผสมกลมกลืนกันได้ด้วยดี
เมื่อเดินเข้าไปในบริเวณ สิ่งแรกที่เห็นคือทะเลสาบกว้างใหญ่ ซึ่งเกิดจากแรงงานคนขุดขึ้นมา แล้วเอาดินที่ขุดพูนขึ้นไปเป็นเนินเขาข้างทะเลสาบนั้นเอง ผู้สร้างคือฮ่องเต้เฉียนหลง ใช้ในการฝึกซ้อมทัพเรือ
>>เมื่อศตวรรษที่ 12
จักรพรรดิองค์หนึ่งแห่งราชวงศ์จินทรงมีพระราชโองการให้สร้างที่ประทับแรมขึ้นที่นี่เป็นครั้งแรก
ต่อมาในหลายราชวงศ์มีการสร้างเสริมเติมต่อหลายครั้ง
พระจักรพรรดิเฉียงหรงแห่งราชวงศ์ชิงทรงมีพระราชโองการให้สร้างขยายอุทยานแห่งนี้ให้กว้างออกไปและทรงให้ชื่อว่า
อุทยาน "ชิงอีหยวน" เมื่อ ค.ศ. 1860 อุทยานแห่งนี้ถูกทหารพันธมิตร
อังกฤษ - ฝรั่งเศสเผาทําลาย ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1888
พระนางซูสีได้ใช้งบประมาณกองทัพเรือของชาติซี่งเป็นเงินแท่ง 5
ล้านตําลึงมาสร้างอุทยานนี้ขึ้นใหม่ และเปลี่ยนชื่อเป็น
"อี้เหอหยวน" อุทยานนี้มีชื่อเลื่องลือไปทั่วโลก
ก็ด้วยมีทิวทัศน์สวยงาม
>>อุทยานอี้เหอหยวนประกอบด้วยสองส่วนคือ เขา "ว่านโซ่วซาน" และ
ทะเลสาบ "คุนหมิงหู" บนเขาว่านโซ่วซานได้สร้างวิหาร ตำหนัก พลับพลา
และเก๋งจีนอันงดงามไว้หลายรูปหลายแบบ
ตั้งอยู่ลดหลั่นรับกันกับภูมิภาพ
ที่เชิงเขามีระเบียงทางเดินที่มีระยะทางไกลถึง ๗๒๘ เมตร
ลัดเลาะไปตามริมทะเลสาบคุนหมิงหู ในทะเลสาบคุนหมิงหูมีเกาะเล็ก ๆ
เกาะหนึ่ง มี สะพาน 17 โค้งอันสวยงามเชื่อมติดกับฝั่ง
ทั่วทั้งอุทยานจัดไว้ได้สัดส่วนงดงามตระการตาซึ่งแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของศิลปะในการสร้างอุทยานของจีน
>>ปีค.ศ.1860 สวนชิงอีหยวนถูกเผาทำลายโดยกองทหารอังกฤษและฝรั่งเศส ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ในปีค.ศ.1866 และเปลี่ยนชื่อมาเป็น 'อี๋เหอหยวน' ต่อมาได้ถูกกองทหารพันธมิตรของมหาอำนาจจักรวรรดินิยม 8 ประเทศ เผาทำลายอีกครั้งในปีค.ศ.1900 หลังจากนั้นราว 3 ปี จึงมีการบูรณะขึ้นอีกครั้ง
>>ปีค.ศ.1908 ภายหลังที่พระนางซูสีไทเฮาและจักรพรรดิกวงสูเสด็จสวรรคต พระราชวังฤดูร้อนที่ผ่านมรสุมมายาวนานก็ได้ยุติการรับใช้ราชสำนักชิง และเมื่อปีค.ศ.1911 ปีที่การปฏิวัติซินไฮ่ ล้มล้างราชสำนักแมนจูอุบัติขึ้น ‘สวนแห่งราชสำนักอี๋เหอหยวน’ ก็ได้ปิดฉากลง ตามการล่มสลายของราชวงศ์ชิง ก่อนที่จีนจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ และได้รับการประกาศเป็นสวนสาธารณะในปี ค.ศ. 1924 โดยอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาเที่ยวชมได้
>>สิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่กล่าวถึง คือ ศาลาแปดเหลี่ยมที่มีชื่อตามความงามในฤดูกาลทั้งสี่ ได้แก่ หอหลิวเจีย ฉีหลาน ชิวซุ่ย และชิงเหยา ปีค.ศ.1990 ระเบียงยาวแห่งนี้ได้รับการบันทึกให้เป็นระเบียงที่ประดับภาพเขียนที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งมีความยาวถึง 728 เมตร แบ่งเป็น 273 ช่วง แต่ละช่วงมีการแสดงภาพเขียนทิวทัศน์ธรรมชาติ ดอกไม้ และนกนานาชนิด
>> ปัุจจุบันพระราชวังนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งผู้มาเยือนกรุงปักกิ่งมักจะ ต้องหาโอกาสไปชม ทั้งนี้เนื่องจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันโด่งดังของการสร้างพระราชวัง โดยเฉพาะในเรื่องที่ พระนางซูสีไทเฮาเบียดบังเอางบประมาณสร้างกองทัพเรือมาบูรณะอุทยานแห่งนี้ ตลอดจนชื่อเสียงในด้านความงามของทิวทัศน์และสิ่งก่อสร้างภายในอุทยาน ไม่ว่าจะเป็นทะเลสาบคุนหมิงหู ภูเขาวั่นโซ่วซานหรือระเบียงยาว “ฉางหลาง” ที่มองเห็นทะเลสาบอยู่ทางด้านหนึ่ง ขณะที่อีกด้านเป็นภูเขา และอุทยานอี้เหอหยวนยังมีจุดที่น่าไปเยี่ยมชมเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ “ถนนซูโจว”ที่เป็นร้านค้าริมฝั่งคลองแบบภาคใต้ของจีน ซึ่งสร้างขึ้นภายในเขตพระราชฐาน เอกลักษณ์อีกสิ่งหนึ่งของพระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน คือ ระเบียงยาว ที่ทอดตัวยาวคดเคี้ยวบนริมฝั่งทะเลสาบคุนหมิงทางทิศเหนือ มีรูปแบบการก่อสร้างที่มีความพิเศษ คือ ภายในระเบียงด้านในมีการเขียนลวดลายเป็นภาพวาดสีสันแพรวพราวกว่า 15,000 ภาพ ด้านนอกระเบียงสร้างเป็นศาลาพักร้อน หอชมสวน เก๋งจีนเชื่อมต่อตลอดความยาวของระเบียงเป็นระยะๆ สำหรับใครที่มีโอกาสไปปักกิ่งก็อย่าพลาดที่จะไปเที่ยวชม "พระราชวังฤดูร้อน" แห่งนี้ด้วยนะคะ
>>ปีค.ศ.1860 สวนชิงอีหยวนถูกเผาทำลายโดยกองทหารอังกฤษและฝรั่งเศส ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ในปีค.ศ.1866 และเปลี่ยนชื่อมาเป็น 'อี๋เหอหยวน' ต่อมาได้ถูกกองทหารพันธมิตรของมหาอำนาจจักรวรรดินิยม 8 ประเทศ เผาทำลายอีกครั้งในปีค.ศ.1900 หลังจากนั้นราว 3 ปี จึงมีการบูรณะขึ้นอีกครั้ง
>>ปีค.ศ.1908 ภายหลังที่พระนางซูสีไทเฮาและจักรพรรดิกวงสูเสด็จสวรรคต พระราชวังฤดูร้อนที่ผ่านมรสุมมายาวนานก็ได้ยุติการรับใช้ราชสำนักชิง และเมื่อปีค.ศ.1911 ปีที่การปฏิวัติซินไฮ่ ล้มล้างราชสำนักแมนจูอุบัติขึ้น ‘สวนแห่งราชสำนักอี๋เหอหยวน’ ก็ได้ปิดฉากลง ตามการล่มสลายของราชวงศ์ชิง ก่อนที่จีนจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ และได้รับการประกาศเป็นสวนสาธารณะในปี ค.ศ. 1924 โดยอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาเที่ยวชมได้
>>สิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่กล่าวถึง คือ ศาลาแปดเหลี่ยมที่มีชื่อตามความงามในฤดูกาลทั้งสี่ ได้แก่ หอหลิวเจีย ฉีหลาน ชิวซุ่ย และชิงเหยา ปีค.ศ.1990 ระเบียงยาวแห่งนี้ได้รับการบันทึกให้เป็นระเบียงที่ประดับภาพเขียนที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งมีความยาวถึง 728 เมตร แบ่งเป็น 273 ช่วง แต่ละช่วงมีการแสดงภาพเขียนทิวทัศน์ธรรมชาติ ดอกไม้ และนกนานาชนิด
>> ปัุจจุบันพระราชวังนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งผู้มาเยือนกรุงปักกิ่งมักจะ ต้องหาโอกาสไปชม ทั้งนี้เนื่องจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันโด่งดังของการสร้างพระราชวัง โดยเฉพาะในเรื่องที่ พระนางซูสีไทเฮาเบียดบังเอางบประมาณสร้างกองทัพเรือมาบูรณะอุทยานแห่งนี้ ตลอดจนชื่อเสียงในด้านความงามของทิวทัศน์และสิ่งก่อสร้างภายในอุทยาน ไม่ว่าจะเป็นทะเลสาบคุนหมิงหู ภูเขาวั่นโซ่วซานหรือระเบียงยาว “ฉางหลาง” ที่มองเห็นทะเลสาบอยู่ทางด้านหนึ่ง ขณะที่อีกด้านเป็นภูเขา และอุทยานอี้เหอหยวนยังมีจุดที่น่าไปเยี่ยมชมเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ “ถนนซูโจว”ที่เป็นร้านค้าริมฝั่งคลองแบบภาคใต้ของจีน ซึ่งสร้างขึ้นภายในเขตพระราชฐาน เอกลักษณ์อีกสิ่งหนึ่งของพระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน คือ ระเบียงยาว ที่ทอดตัวยาวคดเคี้ยวบนริมฝั่งทะเลสาบคุนหมิงทางทิศเหนือ มีรูปแบบการก่อสร้างที่มีความพิเศษ คือ ภายในระเบียงด้านในมีการเขียนลวดลายเป็นภาพวาดสีสันแพรวพราวกว่า 15,000 ภาพ ด้านนอกระเบียงสร้างเป็นศาลาพักร้อน หอชมสวน เก๋งจีนเชื่อมต่อตลอดความยาวของระเบียงเป็นระยะๆ สำหรับใครที่มีโอกาสไปปักกิ่งก็อย่าพลาดที่จะไปเที่ยวชม "พระราชวังฤดูร้อน" แห่งนี้ด้วยนะคะ
วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555
สุสาน 13 กษัตริย์, 十三陵, สุสานสือซานหลิง, หรือวังใต้ดิน
สุสาน 13 กษัตริย์, 十三陵, สุสานสือซานหลิง, หรือวังใต้ดิน
สุสาน 13 กษัตริย์ (十三陵, สุสานสือซานหลิง,วังใต้ดิน)เป็นสุสานแห่งราชวงศ์หมิงซึ่งได้ตั้งอยู่ที่เขา เยียนซานในอำเภอ ชังผิง
ชานกรุงปักกิ่ง ห่างจากตัวเมืองปักกิ่ง 50 กิโลเมตร
ครอบคลุมพื้นที่ราว 120 ตารางกิโลเมตร การก่อสร้างยืดเยื้อมาเป็นเวลากว่า 200 ปี ตั้งแต่เริ่ม
ทำการก่อสร้างในปี ค.ศ.1409 จนถึงราชวงศ์หมิงสิ้นสุดลงในปีค.ศ.
1644
>>ในบรรดา 13 สุสานนี้
สุสานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและน่าสนใจที่สุดคือสุสาน "ฉางหลิง"
ที่มีสิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตมหึมาบนผิวดินกับสุสาน "ติ้งหลิง"หรือ
"วังใต้ดิน"ที่ได้ขุดพบ สุสานฉางหลิงเป็นสุสานของจักรพรรดิ "จูตี้"
ซึ่งครองราชสมบัติระหว่าง ค.ศ. 1402 - 1424 ในสมัยราชวงศ์หมิง
สิ่งก่อสร้างสําคัญในบริเวณสุสานนี้มีพระโรงหลิงเอินซึ่งใหญ่โตเท่ากับพระที่นั่งไท่เหอในพระราชวังโบราณ
แต่ที่เด่นกว่าพระที่นั่งไท่เหอก็คือ เสา ขื่อ อกไก่ ระแนง
ตลอดจนชายคาของพระที่นั่งล้วนสร้างด้วยไม้ที่มีชื่อว่า "หนานมู่"
ซึ่งมีเนื้อไม้ที่แข็งละเอียดและมีกลิ่นหอม เสาขนาดใหญ่ 32
ต้นในพระโรงหลิงเอินใช้ไม้หนานมู่ทั้งนั้น
>>สุสานติ้งหลิงซึ่งได้ขุดแล้วและเรียกกันว่า "วังใต้ดิน" นั้นประกอบด้วยห้องสูงใหญ่ 5 ห้อง สร้างด้วยหินทั้งหมด ไม่มีเสา ใช้หินสี่เหลี่ยมแผ่นใหญ่ก่อกันเข้าเป็นรูปโค้ง เป็นที่เก็บพระศพของพระเจ้า "จู้อี้จุน" ซึ่งครองราชสมบัติระหว่าง ค.ศ. 1573 - 1620 กับมเหสีสององค์ในสมัยราชวงศ์หมิง
>>สุสานชิงตะวันออกหรือชิงตงหลิงอยู่ห่างจากเมืองจุนหั้วมณฑล
เหอเป่ยไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ30กิโลเมตร
ซึ่งอยู่ระหว่างกรุงปักกิ่ง เมืองเทียนสิน ถางซานและเมืองเฉิงเต๋อ
ภายในบริเวณสุสานตะวันออกนั้น ผืนดินด้านใต้นั้นราบเรียบดั่งผืนพรม
ส่วนด้านเหนือยังเป็นทิวเขาสูง เขียวขจีสุดลูกหูลูกตา
ทิวทัศน์โดยรอบงดงามราวกับแดนสวรรค์
>>สุสานแห่งนี้เป็นที่ฝังพระศพของจักรพรรดิ
ของราชวงศ์หมิงถึง 13 พระองค์ ฮองเฮา 23 พระองค์ รัชทายาท 2 พระองค์
พระสนม 30 คน และขันทีอีก 1 คน
นับว่าเป็นสุสานหลวงที่ฝังศพของจักรพรรดิที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
>>สุสาน 13 กษัตริย์ราชวงศ์หมิง และสุสานหมิงเสี้ยว ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในปีค.ศ. 2003
>>สุสาน 13 กษัตริย์ราชวงศ์หมิง และสุสานหมิงเสี้ยว ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในปีค.ศ. 2003
>>การเดินทางจากปักกิ่งไปถึงสุสาน 13
กษัตริย์ นั้นมีระยะทางประมาณ 100 กว่ากิโลเมตร การเดินทางต้องเผื่อเวลารถติดด้วยพราะปักกิ่งนั้นก็รถติดไม่แพ้ประเทศไทยบ้านเราเลย
เมื่อมาถึงสุสานต้องซื้อตั๋วเข้าชม การเข้าชมสุสานนั้นต้องเดินขึ้นไปบนเชิงเขาเเพราะสุสานนั้นตั้งอยู่บนเชิงเขาและตามความเชื่อของชาวจีนเชื่อกันว่า
การสร้างสุสานนั้น จะต้องคำนึงถึงทำเลที่ตั้ง ฮวงจุ้ย ชื่อเมืองที่ตั้งสุสาน เพราะ ถ้ามี ฮวงจุ้ย ที่ดี จะส่งผลให้ลูกหลานได้รับความมงคลยิ่งๆขึ้นไป
วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555
หอบูชาฟ้าเทียนฐาน,Temple of heaven
หอบูชาฟ้าเทียนฐาน,Temple of heaven
หอบูชาฟ้าเทียนฐาน หรือที่รู้จักกันในชื่อต่างๆดังนี้ Temple of heaven, หอสักการะฟ้าเทียนถัน, 天坛, 天壇, Tiāntán, Abkai mukdehun, เทียนตี้ถัน, หอแผ่นดินและฟ้า
ซึ่งได้ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน สร้างในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง เมื่อปี พ.ศ. 1963 (ค.ศ. 1420) โดยมีชื่อว่า เทียนตี้ถัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2077 (ค.ศ. 1534) ได้มีการสร้างหอสักการะ ตี้ถัน ขึ้น ชื่อของหอนี้จึงกลายมาเป็นเทียนถันอย่างเดียว เมื่อปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) ฟ้าผ่าลงมาบนหอเสียหาย และได้มีการสร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906)
หอฟ้าเทียนถาน ปัจจุบันกลายเป็นเขตของสวนสาธารณะเทียนถาน
(เทียนถานกงหยวน) ในอดีตจักรพรรดิจะเสด็จออกจากวังหลวงมาประกอบพิธีบวงสรวงบูชาสวรรค์
บูชาฟ้าดิน ขอให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ฝนตกต้องตามฤดูกาลประจำทุกปี
>>หอเทียนถานมีบริเวณกว้างถึง 2.7 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าพระราชวังหลวงถึง 2 เท่า มีกำแพงล้อมรอบด้านเหนือเป็นรูปร่างลักษณะกลม (หมายถึง ท้องฟ้า) ด้านใต้เป็นรูปร่างลักษณะเหลี่ยม (หมายถึง แผ่นดินและโลก) แบ่งออกเป็นเขตของอาคาร 3 ส่วนที่สำคัญคือ
>>หอเทียนถานมีบริเวณกว้างถึง 2.7 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าพระราชวังหลวงถึง 2 เท่า มีกำแพงล้อมรอบด้านเหนือเป็นรูปร่างลักษณะกลม (หมายถึง ท้องฟ้า) ด้านใต้เป็นรูปร่างลักษณะเหลี่ยม (หมายถึง แผ่นดินและโลก) แบ่งออกเป็นเขตของอาคาร 3 ส่วนที่สำคัญคือ
1.หอประกอบพิธีบวงสรวงฟ้าดิน “ฉีเหนียนเตี้ยน”
>>ตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของสถานที่แห่งนี้ สร้างบนฐานหินหยกขาว 3 ชั้น สูง 2.7 เมตร เป็นอาคารทรงกลม สร้างด้วยไม้ล้วนๆ โดยไม่ใช้ตะปูเลยแม้แต่ตัวเดียว มีขนาดใหญ่มาก เส้นผ่าศูนย์กลางอาคารกว้างถึง 30 เมตร ใช้เสาจากต้นไม้ต้นเดียวขนาดใหญ่ 28 ต้น รองรับน้ำหนักหลังคาทรงกลมซ้อนกัน 3 ชั้น มุงกระเบื้องสีน้ำเงิน ปลายสุดยอดหลังคาประดับด้วยลูกแก้วกลมสีทอง
>>บนฐาน 3 ชั้น จะมีรั้วล้อมรอบทุกชั้น เป็นเสากำแพงหินหยกขาวแกะสลักงดงามได้สัดส่วน กลมกลืนกับหอดีมากตั้งอยู่บนแนวเส้นแกนเดียวกับอาคารอีก 2 แห่ง มีถนนยกระดับเชื่อมต่อกันยาวประมาณ 800 เมตร
>>ภายในหอบวงสรวง ตรงกลางในสุดจะมีเสา 4 ต้น เปรียบเสมือน 4 ฤดูของจีน วงรอบที่ 2 จะมีเสา 12 ต้น เปรียบเหมือน 12 เดือน ใน 1 ปี วงรอบที่ 3 ติดกับผนังมีเสาอีก 12 ต้น รวมเป็น 24 ต้น เปรียบเสมือน 24 ฤดูกาลของการเพาะปลูก รวมทั้งหมดมี 28 ต้น เปรียบเหมือนกลุ่มดวงดาว 28 กลุ่มทางดาราศาสตร์
>>ด้านหลังและด้านข้างของหอแห่งนี้จะมีอาคารที่ประทับของฮ่องเต้ ห้องครัว ห้องฆ่าสัตว์บูชายัญ ห้องเก็บจัดและเตรียมข้าวของเครื่องใช้ในพระราชพิธี
2.หอตั้งป้ายเทพเจ้า “หวางฉุงหยี่”
>>สร้างในปีค.ศ. 1530 ลักษณะคล้ายหอบวงสรวง เป็นทรงกลม มุงกระเบื้องสีน้ำเงิน ปลายหลังคาแหลมหุ้มทอง ตั้งอยู่บนฐานสูง 1.5 เมตร มีรั้วหินหยกแกะสลักเป็นรูปเมฆและมังกร ภายในหอตั้งป้ายชื่อเทพเจ้าฟ้าดิน พระอาทิตย์และพระจันทร์ ใช้ในพิธีบวงสรวงของฮ่องเต้
>>ด้านหน้าหอ (ทิศใต้) จะมีขั้นบันไดทอดยาวลงมาจากฐานสูง มีแผ่นหินก้อนสี่เหลี่ยมขนาดไม่เท่ากันปูเรียง 3 แผ่น เรียกว่า “หิน 3 เสียง” คือเมื่อยืนอยู่บนแผ่นหินแผ่นแรกทีติดกับขั้นบันไดแล้วปรบมือ 3 ครั้ง จะมีเสียงสะท้อนกลับมา 3 ครั้ง พอเขยิบมายืนบนแผ่นหินที่ 2 แล้วปรบมือ 1 ครั้งจะมีเสียงสะท้อนกลับมา 2 ครั้ง ถัดไปยืนบนแผ่นหินแผ่นที่ 3 ปรบมือ 1 ครั้ง จะมีเสียงสะท้อนกลับมาเพียง 1 ครั้ง
>>นอกจากนั้นยังมีกำแพงล้อมรอบปิดเป็นวงกลม เรียกว่า “กำแพงเสียงสะท้อน” โดยที่กำแพงนี้สามารถนำเสียงได้เป็นอย่างดีคือ เมื่อเอาหูแนบชิดกำแพงจะได้ยินเสียงคนพูดที่อยู่อีกด้านนึ่งได้ชัดเจน เป็นที่อัศจรรย์น่าพิสูจน์ด้วยตนเอง
>>สร้างในปีค.ศ. 1530 ลักษณะคล้ายหอบวงสรวง เป็นทรงกลม มุงกระเบื้องสีน้ำเงิน ปลายหลังคาแหลมหุ้มทอง ตั้งอยู่บนฐานสูง 1.5 เมตร มีรั้วหินหยกแกะสลักเป็นรูปเมฆและมังกร ภายในหอตั้งป้ายชื่อเทพเจ้าฟ้าดิน พระอาทิตย์และพระจันทร์ ใช้ในพิธีบวงสรวงของฮ่องเต้
>>ด้านหน้าหอ (ทิศใต้) จะมีขั้นบันไดทอดยาวลงมาจากฐานสูง มีแผ่นหินก้อนสี่เหลี่ยมขนาดไม่เท่ากันปูเรียง 3 แผ่น เรียกว่า “หิน 3 เสียง” คือเมื่อยืนอยู่บนแผ่นหินแผ่นแรกทีติดกับขั้นบันไดแล้วปรบมือ 3 ครั้ง จะมีเสียงสะท้อนกลับมา 3 ครั้ง พอเขยิบมายืนบนแผ่นหินที่ 2 แล้วปรบมือ 1 ครั้งจะมีเสียงสะท้อนกลับมา 2 ครั้ง ถัดไปยืนบนแผ่นหินแผ่นที่ 3 ปรบมือ 1 ครั้ง จะมีเสียงสะท้อนกลับมาเพียง 1 ครั้ง
>>นอกจากนั้นยังมีกำแพงล้อมรอบปิดเป็นวงกลม เรียกว่า “กำแพงเสียงสะท้อน” โดยที่กำแพงนี้สามารถนำเสียงได้เป็นอย่างดีคือ เมื่อเอาหูแนบชิดกำแพงจะได้ยินเสียงคนพูดที่อยู่อีกด้านนึ่งได้ชัดเจน เป็นที่อัศจรรย์น่าพิสูจน์ด้วยตนเอง
3.แท่นบวงสรวง (หวานชิวถาน)
>>เป็นแท่นกลม สูง 3 ชั้น ตั้งอยู่กลางแจ้ง สร้างในปี ค.ศ.1530 ล้อมรอบด้วยรั้วหินหยกขาว แกะสลักเป็นลวดลายเมฆและมังกร ชั้นบนสุดเป็นลานกว้างโล่ง ตรงกลางเป็นหินอ่อนกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร ล้อมรอบด้วยหิน 9 ก้อน รอบ 2 มีหิน 18 ก้อน มีทั้งหมด 9 รอบ รอบที่ 9 สุดท้ายมีหินล้อมรอบ 81 ก้อน เวลาประกอบพิธี ฮ่องเต้จะคุกเข่าลงตรงใจกลางของแท่นที่มีหินรูปร่างกลมก้อนใหญ่ แล้วตั้งจิตอธิษฐานเพื่อขอพรจากพรจากสวรรค์ ให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ และเมื่อพูดด้วยเสียงดังฟังชัด ฮ่องเต้จะได้ยินเสียงสะท้อน(Echo) ชัดเจน ทำให้รู้สึกว่าได้อยู่ใกล้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใกล้ฟ้า ใกล้สวรรค์ และเหล่าเทพเทวดาเป็นเทคนิคพิเศษของการก่อสร้างและการออกแบบเฉพาะในสมัย โบราณจะมีการเผาไหมเป็นเครื่องบวงสรวงบูชาสวรรค์กันที่นี่อีกด้วย
>>สำหรับสวนสาธารณะเทียนถานในบริเวณใกล้เคียง เป็นที่ที่ชาวจีนนิยมมาออกกำลังกายกันมากทั้งยามเช้าและยามเย็น มีกิจกรรมกลางแจ้งต่างๆสารพัดชนิด ไม่ว่าจะเป็นจ๊อกกิ้ง รำมวยจีน รำดาบ เต้นรำ ตะกร้อ และแบดมินตัน ส่วนผู้อาวุโสจะนั่งจิบน้ำชา เล่นหมากรุก พูดคุยสังสรรค์กันเป็นกลุ่มๆ อย่างสบายอารมณ์
"เทียนถาน"
นับเป็นกลุ่มสิ่งปลูกสร้างสำคัญที่ยังคงสภาพความสวยงาม
ขนาดใหญ่โตและสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของจีนในปัจจุบันโดย
มีชื่อเสียงไปทั่วโลกด้วยแบบการก่อสร้างและสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ
ตัวด้วยโครงสร้างที่มีเอกลักษณ์และการตกแต่งที่สง่างามของโบราณสถานแห่งนี้
ได้รับการยกย่องว่าเป็นกลุ่มสิ่งก่อสร้างโบราณที่สร้างด้วยฝีมือประณีตและ
สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของจีนซึ่งไม่เพียงแต่เป็นอัญมณีเม็ดงามสุกสกาวที่
ประดับในประวัติสถาปัตยกรรมจีนเท่านั้น
หากยังเป็นสิ่งล้ำค่าในประวัติสถาปัตยกรรมของโลกอีกด้วย
"เทียนถาน" ได้รับเลือกให้จัดเป็น
"มรดกโลกทางวัฒนธรรม" เมื่อปี ค.ศ. 1998
ตำแหน่ง:
ประเทศจีน ปักกิ่ง Dongcheng, 天坛路天坛公园
วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555
พระราชวังต้องห้าม กู้กง ( the Imperial Palace )
พระราชวังหลวงกู้กง
พระราชวังหลวงกู้กง หรือที่รู้จักกันในชื่อต่างๆดังนี้ พิพิธภัณฑ์พระราชวัง, พระราชวังต้องห้าม ,紫禁城,Zǐjìn Chéng, จื่อจิ้นเฉิง,Forbidden City, Gu Gong, Imperial Palace,เมืองต้องห้ามสีม่วง
ซึ่งพระราชวังนี้ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ. 1406 สร้างโดยจักรพรรดิหย่งเล่อซึ่งเป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิหงอู่ซึ่งเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์หมิง ต่อมาในปี พ.ศ. 2187 ได้เกิดจลาจลขึ้นทำให้พระราชวังสมัยราชวงศหมิงเสียหายไป และเมื่อราชวงศ์ชิงขึ้นครองอำนาจต่อจากราชวงศ์หมิง ทางราชวงศ์ชิงก็ได้ก่อสร้างสร้างขึ้นมาใหม่บนฐานสิ่งก่อสร้างเดิม ทำให้พระราชวังกลายมาเป็นจุดศูนย์กลางอำนาจของจีนอีกครั้งหนึ่งเรื่อยมาจนถึงการล่มสลายของราชวงศ์ชิง และการเปลี่ยนมาเป็นระบอบสาธารณรัฐ
พระราชวังครอบคลุมพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร อาคาร 800 หลัง มีห้องทั้งหมด 9,999 ห้อง และมีพระที่นั่ง 75 องค์ หอพระสมุด ห้องหับต่างๆอีกมาก รวมทั้งยังมีสวน ลานกว้าง ทางเดินเชื่อมกันโดยตลอด มีคูและกำแพงที่สูงถึง 11 เมตร ล้อมรอบ ใช้ระยะก่อสร้างประมาณ 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1949 จนถึง พ.ศ. 1963
สถานที่ตั้งและรายละเอียดของพระราชวัง
>> ตั้งอยู่ด้านหลังพลับพลาเทียนอันเหมิน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือจรดใต้ 961 เมตร กว้าง 753 เมตร มีกำแพงวังล้อมรอบ ยาว 3 กิโลเมตร สูง 10 เมตร มีคูน้ำล้อมรอบ กว้าง 52 เมตร มีประตูวัง 4 ประตู 4 ทิศ มีป้อมหอคอยกำแพงวังอยู่ 4 มุม มีพื้นที่ทั้งหมด 724,250 ตารางเมตร มีตำหนักน้อยใหญ่ถึง 9,999 ห้อง
>>สร้างในสมัยพระเจ้าหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง เมื่อปี ค.ศ. 1406 เป็นที่ประทับของกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิงและชิง รวมทั้งสิ้น 24 พระองค์ มีการบูรณะซ่อมแซมไปหลายครั้ง แต่ยังคงสถาปัตยกรรมเดิม มีความสมบูรณ์แบบที่สุด ใหญ่ที่สุดและรักษาไว้ได้ดีที่สุด รวมทั้งมีประวัติที่ยาวนานที่สุดในโลกอีกด้วย
- ภายในพระราชวังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ วังหน้าและวังใน
- วังหน้าเป็นเขตที่ฮ่องเต้ออกว่าราชการ จัดงานพิธีต่างๆ รับเข้าเฝ้า
- วังในเป็นเขตหวงห้าม ผู้ชายห้ามเข้า ยกเว้นขันทีเท่านั้น
>> วังหน้ามี 3 ตำหนัก เป็นศูนย์กลางที่สร้างอยู่บนเส้นแกนตรงกันเป็นเส้นตรง ดังนี้
1.ตำหนักไถ่เหอ เป็นตำหนักด้านหน้าที่สำคัญที่สุดและใหญ่ที่สุดในพระราชวังหลวง ตั้งอยู่บนแท่นหินหยกขาวยกพื้นสูง 2 เมตรเศษ ล้อมรอบด้วยรั้วหินหยกขาว แกะสลักเป็นเมฆ มังกร และหงส์ สร้างในปีค.ศ. 1420 สมัยของพระเจ้าหย่งเล่อ กว้าง 11 เมตร ลึก 5 เมตร หลังคาซ้อน 2 ชั้น สูง 35 เมตร พื้นที่ 2,377 ตารางเมตร ปูด้วยอิฐ(ที่นวดด้วยแป้งทองคำ) ตรงกลางมีบัลลังก์มังกรสีทอง(มังกร 5 เล็บ สัญลักษณ์ของฮ่องเต้อันสูงส่ง) ใช้เป็นสถานที่ฮ่องเต้ออกว่าราชการแผ่นดินรับการเข้าเฝ้าจากขุนนางขุนศึก ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองและอาคันตุกะชาวต่างต่างประเทศ หลังคามุงกระเบื้องสีทอง(สีเฉพาะของฮ่องเต้เท่านั้น)
2.ตำหนักจงเหอ เป็นตำหนักหลังที่ 2 อยู่ด้านหลังตำหนักไถ่เหอ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมียอดแหลม ใช้เป็นสถานที่พักรอก่อนออกว่าราชการแผ่นดิน รับการรายงานจากข้าหลวงชั้นใน รวมทั้งพิธีการจัดงานเข้าเฝ้า หากมีงานพิธีแต่งตั้งพระราชินีและจัดงานใหญ่ในพระราชวังจะต้องตรวจเอกสารความเรียบร้อยของงาน ณ ตำหนักแห่งนี้ล่วงหน้า 1 วัน
3.ตำหนักเป่าเหอ เป็นตำหนักหลังที่ 3 อยู่หลังตำหนักจงเหอ เป็นตำหนักใหญ่ มีพื้นที่เท่ากับตำหนักไถ่เหอ ภายในมีบัลลังก์ก่อสร้างโดยไม่มีเสาแถวที่ 2 ทำให้ห้องโถงด้านหน้าท้องพระโรงกว้างขึ้น ไม่บังสายพระเนตรพระองค์ฮ่องเต้ ใช้เป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงรับรองบรรดาหัวหน้าชนเผ่ากลุ่มน้อยต่างๆทุกปี ในวันที่ 30 เดือน 12 (วันสิ้นปีของจีน) พิธีอภิเษกสมรสของฮ่องเต้หรือโอรสธิดา มาถึงในสมัยพระเจ้าเฉียนหลงใช้ที่นี่เป็นสถานที่สอบจอหงวน องค์ฮ่องเต้เป็นผู้ออกข้อสอบและคุมสอบด้วยพระองค์เอง โดยสอบในห้องท้องพระโรงแห่งนี้เอง
ผู้ที่สอบได้ที่ 1 มีเพียงคนเดียวเท่านั้น จะได้เป็น “จอหงวน” และเป็นลูกเขยของฮ่องเต้
ผู้ที่สอบได้ที่ 2 อาจมีหลายคน จะได้เป็น “ท่านฮั้ว” เป็นที่ปรึกษาประจำองค์ฮ่องเต้
>> วังใน เป็นเขตต้องห้ามสำหรับผู้ชาย ทาสเพศชายที่จะเข้ามารับใช้ในวังได้นั้นต้องผ่านขั้นตอนการตอนให้เป็นขันทีเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องเสื่อมเสียกับมเหสีและเหล่านางสนมใน ขันทีมาจากชนชั้นยากจนเสียเป็นส่วนใหญ่ พวกพ่อค้าทาสจะลักพาตัวมาตั้งแต่เด็ก แล้วส่งไปให้คนของตระกูลไป่ในกรุงปักกิ่งทำการตอน ตอนเสร็จแล้วก็มีการออกใบรับรองส่งให้ราชสำนัก ขันทีที่ฉลาดมีการศึกษาอาจได้เป็นกุนซือหรืออาจารย์ในวังหลวง แต่ขันทีส่วนใหญ่ต้องทำงานหนักในโรงครัวและในสวนไปตลอดชีวิต ทำผิดเล็กน้อยก็จะถูกโบยถูกเฆี่ยนตี ทำผิดมากโชคไม่ดีก็อาจถูกตัดหัวได้ง่าย
>> การได้เข้ามารับใช้ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์ ทำให้ขันทีบางคนสามารถกุมอำนาจเอาไว้ได้ สร้างความร่ำรวยให้ตนเองใช้ตำแหน่งใหญ่โตสร้างอิทธิพล แสวงหาทรัพย์สินเงินทองในทางมิชอบ จนสามารถซื้อบ้าน ที่ดิน ทำธุรกิจการค้านอกวังหลวง พอเกษียณแล้วจะย้ายออกไปอยู่ตามวัดที่ตนเองเคยให้การอุปถัมภ์ด้วยการบริจาคเงินจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอ ในยุคราชวงศ์หมิงมีขันทีอยู่ในพระราชสำนักถึง 20,000 คน แต่ภายหลังก็ค่อยๆลดจำนวนลงจนเหลือเพียง 1,500 คน ในรัชกาลสุดท้ายก่อนที่ราชวงศ์ชิงจะล่มสลายเมื่อปี ค.ศ. 1991
>>การตอนหรือการตัดอวัยวะเพศทิ้งก็ใช่จะให้ผลเป็นที่น่าเชื่อถือได้เสมอไป ข่าวลือเรื่องการลักลอบมีความสัมพันธ์กันระหว่างขันทีกับนางกำนัลก็มีให้ได้ยินอยู่บ่อยครั้ง คนทั่วไปมองขันทีว่าเป็นพวกน่าสมเพช มักถูกดูหมิ่นอยู่เสมอ เพราะ การเป็นคนที่ไม่สามารถเพื่อมีบุตรสืบสกุลได้นั้นย่อมถูกเหยียดหยามเป็นธรรมดา
>>ดังนั้นพวกขันทีที่มีอำนาจมากๆ ก็จะซื้อบ้านเอาไว้นอกพระราชวังหลวง ทำบันทึกอ้างอิงถึงการสืบทอดวงศ์ตระกูลลงมาเป็นรุ่นๆ โดยมีการซื้อสตรีและทารกมาเป็นภรรยาและบุตร ซื้อบ่าวทาสหรือแม้กระทั่งนางบำเรอหลายๆคนมาไว้ข้างกาย
>>การตอนหรือการตัดอวัยวะเพศทิ้งก็ใช่จะให้ผลเป็นที่น่าเชื่อถือได้เสมอไป ข่าวลือเรื่องการลักลอบมีความสัมพันธ์กันระหว่างขันทีกับนางกำนัลก็มีให้ได้ยินอยู่บ่อยครั้ง คนทั่วไปมองขันทีว่าเป็นพวกน่าสมเพช มักถูกดูหมิ่นอยู่เสมอ เพราะ การเป็นคนที่ไม่สามารถเพื่อมีบุตรสืบสกุลได้นั้นย่อมถูกเหยียดหยามเป็นธรรมดา
>>ดังนั้นพวกขันทีที่มีอำนาจมากๆ ก็จะซื้อบ้านเอาไว้นอกพระราชวังหลวง ทำบันทึกอ้างอิงถึงการสืบทอดวงศ์ตระกูลลงมาเป็นรุ่นๆ โดยมีการซื้อสตรีและทารกมาเป็นภรรยาและบุตร ซื้อบ่าวทาสหรือแม้กระทั่งนางบำเรอหลายๆคนมาไว้ข้างกาย
>> เขตพระราชวังชั้นใน(วังใน) ประกอบด้วยตำหนักเฉียนชิงกง เจียวไถ่เตี่ยน คุนหมิงกง ตำหนักตะวันออกและตะวันตก เป็นสถานที่ที่ฮ่องเต้ดำเนินการประจำวันทางการเมือง อาทิ ตรวจเอกสาร ลงพระนามอนุมัติ ตัดสินความ และเป็นสถานที่พักอาศัยของพระราชวงศ์ พระราชินี พระสนม พระโอรส และพระธิดา รวมไปถึงมีพระราชอุทยานของฮ่องเต้ เขตวังในจะมีพระตำหนักที่มีความสำคัญอยู่ 2 หลังคือ
>>เฉียนชิงกง เป็นตำหนักด้านหน้าของวังใน เป็นที่ประทับของฮ่องเต้ เพื่อตรวจเอกสารลงพระนามอนุมัติราชการแผ่นดินประจำวัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1644 ทหารและชาวนาของหลี่จื้อเฉินทำการปฏิวัติ นำกำลังบุกเข้าปักกิ่ง ซึ่งตรงกับรัชกาลฮ่องเต้องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์หมิง พระเจ้าจูหยิวเจี่ยนชักกระบี่ฟันพระธิดาของพระองค์จนขาดสะพายแล่ง แล้วทรงหนีออกจากพระราชวังไปแขวนคอตายที่ต้นสน ณ ภูเขาเหมยซาน(ปัจจุบันเรียกว่า ภูเขาจิ่งซาน) ซึ่งอยู่ด้านหลังพระราชวังหลวง
>> หย่างซินเตี้ยน เป็นตำหนักอยู่บริเวณด้านตะวันตกเฉียงใต้ของวังใน เป็นที่ประทับของฮ่องเต้ นัดพบปะพูดคุยกับพวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทั้งเรื่องการเมืองและการทหารในรัชสมัยพระเจ้าถงจื้อและกวางซี่ใช้เป็นสถานที่ออกว่าราชการหลังม่านของพระนางซูสีไทเฮา รวมทั้งในสมัยฮ่องเต้องค์สุดท้าย เมื่อครั้งที่ ดร.ซุนยัดเซ็นทำการปฏิวัติ จักพรรดิปูยีก็ทรงสละราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1962 ณ ตำหนักแห่งนี้
>> สำหรับประตูทางเข้าด้านหน้าของพระราชวังหลวงหลังพลับพลาเทียนอันเหมิน ทางด้านทิศใต้ของพระราชวังจะมีซุ้มประตูไถ่เหอ แนวกำแพงวังประกอบด้วยประตูใหญ่อยู่ตรงกลาง ประตูเล็ก 2 ข้าง รวม 3 ประตู ประตูมีความลึกถึง 28 เมตร ประตูใหญ่ตรงกลางเป็นประตูเข้าเฉพาะฮ่องเต้เพียงพระองค์เดียว คนอื่นห้ามเดินออกเด็ดขาด ใครฝ่าฝืนเดินออกจะถูกประหารชีวิต คนอื่นเดินออกได้เพียงประตูเดียวเท่านั้นคือประตูด้านทิศเหนือชื่อ “เสินอู่เหมิน” (ประตูหลัง)
>>ประตูใหญ่ตรงกลาง ในชั่วชีวิตของพระราชินีมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่จะได้เดินผ่านเข้าประตูนี้คือ วันอภิเษกสมรส นอกนั้นขุนนางและพระราชวงศ์ทุกพระองค์จะเดินเข้าพระราชวังทางประตูเล็กทั้งสองข้างเท่านั้น
โครงสร้างและสถาปัตยกรรม
พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่บนหัวใจปักกิ่ง (the heart of Beijing) นักดาราศาสตร์ชาวจีนโบราณสร้างให้ที่ตั้งนี้เป็นเครื่องหมายแห่งจักรวาล
การก่อสร้างพระราชวังต้องห้ามใช้ช่างฝีมือกว่าหนึ่งแสนคน คนงานมากกว่าหนึ่งล้านคน ไม้ที่ใช้เป็นไม้หนามมู่ เป็นไม้เนื้อแข็งชั้นดี เอามาจากมณฑลซื่อชวน กว่างตง และยูนาน ส่วนไม้ซุงขนมาจากซื่อชวน เจียงซี เจ๋อเจียง ส่านซี และฮูนาน การตัดและการขนย้ายเป็นเรื่องสุดโหด ไม้เมื่อตัดแล้ว จะต้องทิ้งไว้บนเขาอย่างนั้น รอให้น้ำป่าหลากทะลักพัดมันลงมาเอง จากนั้นจึงค่อยบรรทุกขึ้นเรือมาปักกิ่ง
หินที่ใช้ในการก่อสร้าง นำมาจากฟ่างซาน การขนย้ายต้องจ้างชาวไร่ ขาวนา ในการขนย้ายหินถึง 20,000 คน หินแต่ละก้อนยาว 10 เมตร กว้าง 3 เมตร หนา 1.6 เมตร หากเคลื่อนย้ายผ่านภูมิภาคที่เป็นน้ำแข็ง ต้องราดน้ำลงไปเพื่อให้น้ำแข็งละลาย เมื่อมาถึงปักกิ่ง ต้องใช้ม้าและล่อลากหินเป็นพันๆตัว
อิฐนำมาจากหลินจิ้ง ในมณฑลซานตง การสร้างต้องใช้อิฐมากกว่าสิบล้านก้อน เพื่อใช้ปูพื้นพระราชวัง และขั้นตอนในการปูพื้นมีกรรมวิธีกว่ายี่สิบขั้นตอน แต่ละพื้นที่ใช้เวลาปูพื้นร่วมปี
วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555
กำแพงเมืองจีน,Chángchéng,Great wall,长城,長城
กำแพงเมืองจีน,Chángchéng,Great wall,长城,長城
สวัสดีค่า.วันนี้ขอเสนอ..กำแพงเมืองจีน.. ซึ่งเป็นสถานที่ที่หลายๆคนต่างก็รู้จักกันดี
คนไทยเรียกว่า กำแพงเมืองจีน คนปักกิ่งเรียกว่า ฉางเฉิง แปลว่า กำแพงยาว เป็นสิ่งก่อสร้างในยุคโบราณของจีน
กำแพงเมืองจีนนั้นถูกสร้างขึ้นกว่า 2000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิ์องค์แรกในประวัติศาสตร์จีน จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าทางตอนเหนือซึ่งก็คือพวก มองโกล ฮั่น และ แมนจู ที่มักจะมาปล้น ฆ่า และเผาทำลายหมู่บ้านชาวจีนเป็นจำนวนมาก ซึ่งชาวจีนจะเรียกคนพวกนี้ว่า “คนเถื่อน” โดยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยกษัตริย์องค์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนสำเร็จในที่สุด กำแพงเมืองจีนถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมาเลยทีเดียว
กำแพงเมืองจีนมีความยาวรวมทั้งสิ้นกว่า 4,000 ไมล์(กว่า 6,400 กิโลเมตร) โดยมันเริ่มตั้งต้นที่ชายฝั่งของแม่น้ำเหลือง ทอดผ่านขุนเขาตอนเหนือของปักกิ่ง เข้าสู่ดินแดนใจกลางภาคเหนือของประเทศจีน มันมีปราสาทที่แข็งแกร่งและหอเฝ้ายามตามเส้นทางภูเขาที่สำคัญ กำแพงเมืองจีนยาวตลอดถึงแนวฝั่งแม่น้ำสายใหญ่ๆ แล้วทอดผ่านทะเลยทรายที่ร้างจากผู้คนไปอีกหลายพันกิโลเมตร และไปสิ้นสุดที่เหนือแม่น้ำขาว แต่ถ้านำกำแพงเมืองจีนที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหมดนั้นมาวางต่อกันจะยาว 35,000 ไมล์ ซึ่งเท่ากับ 56,000 กิโลเมตร ซึ่งความยาวขนาดนี้แทบจะนำมาพันรอบโลกได้ 2 รอบก็ว่าได้
ช่วงที่หนึ่งของการสร้างกำแพงเมืองจีนถูกสร้างขึ้นด้วยดินอัดแข็งซึ่งยังคงเป็นเทคนิคซึ่งยังใช้อยู่ทุกวันนี้ในชนบทของจีน โดยขั้นตอนแรกนั้นวางไม้กระดานเรียงขนานกันให้กว้างเท่ากับความหนาของกำแพง จากนั้นตักดินใส่ตรงกลางระหว่างช่องว่างของไม้กระดาน พรมน้ำลงไปแล้วอัดให้แน่นด้วยการเหยียบของคน จากนั้นก็เรียงไม้ให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ แล้วกำแพงก็สูงขึ้นทีละชั้น ซึ่งวิธีการสร้างกำแพงแบบนี้ประหยัดและเร็วกว่ากำแพงที่สร้างด้วยหินนับร้อยเท่า จักรพรรดิจิ๋น จึงสามารถสร้างกำแพงเมืองจีนยาว 6,500 กิโลเมตรเสร็จภายในเวลาเพียงแค่ 12 ปีเท่านั้น ซึ่งกำแพงเมืองจีนที่สร้างขึ้นมานั้นสามารถอยู่มาได้จนถึงปัจจุบันแม้จะผ่านมามากกว่า 2,200 ปีแล้วก็ตาม
ช่วงที่สองของการสร้างกำแพงเมืองจีน : แม้ว่าจักรพรรดิจิ๋นจะสร้างกำแพงเมืองจีนด้วยเลือดและชีวิตของประชาชน แต่ราชวงศ์ใหม่ “ฮั่น” ที่ปกครองประเทศจีนหลังจากจักรพรรดิจิ๋นสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ก็ได้สานต่องานสร้างกำแพงเมืองจีนต่อในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 โดยราชวงศ์ฮั่นในตอนนั้นได้สร้างกำแพงเมืองจีนที่มีความยาวกว่า 10,720 กิโลเมตร ซึ่งมันยาวกว่ากำแพงเมืองจีนที่จักรพรรดิจิ๋นทรงสร้างขึ้นในตอนแรกเกือบ 3, 500 กิโลเมตร กำแพงของราชวงศ์ฮั่นถูกสร้างขึ้นด้วย ทรายที่นำมาอัด กิ่งไม้พุ่ม และปุ๋ยขี้ม้า
ช่วงที่สามของการสร้างกำแพงเมืองจีน : ในช่วงสมัยของราชวงศ์หมิง ได้มีการก่อสร้างกำแพงเมืองจีนช่วงที่ 3 ซึ่งในการสร้างครั้งนี้ เป็นการสร้างกำแพงเมืองจีนที่ยิ่งใหญ่กว่าการสร้าง 2 ครั้งแรกที่ผ่านมาของจักรพรรดิจิ๋นและ ราชวงศ์ฮั่น กำแพงเมืองจีนของราชวงศ์หมิงสร้างขึ้นด้วยหิน กำแพงเมืองจีนของราชวงศ์หมิงนี้ทอดยาวจากซานไฮกวานที่ทะเลเหลือง ถึง ไจยูกวานในทะเลทรายโกบี มันพาดผ่านประเทศจีนเหมือนกระดูสันหลังที่คดเคี้ยวมีความยาวเกือบ 6,500 กิโลเมตร พร้อมกับหอคอยอีกนับพัน เพื่อป้องกันการบุกรุกของพวกคนเถื่อน โดยการกำแพงเมืองจีนจากหินนั้นต้องใช้แรงงานและงบประมาณมากกว่าการสร้างกำแพงด้วยอิฐโคลนหลายร้อยเท่า ซึ่งแรงงานที่นำมาใช้เพื่อสร้างกำแพงหินนี้มาส่วนใหญ่มาจากเหล่านักโทษ ซึ่งถ้าหากว่านักโทษคนใดตายระหว่างการก่อสร้าง สมาชิกคนอื่นในครอบครัวจะถูกนำมาเพื่อก่อสร้างกำแพงเมืองจีนแทนคนที่ตายไปจนกว่าจะครบโทษ
ปัจจุบัน กำแพงเมืองจีนไม่มีสมรรถนะในการใช้เป็นป้อมรับศึกอีกแล้ว แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่น่าทึ่งในฐานะสถาปัตยกรรมอันสง่างามอย่างหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ
ปัจจุบัน กำแพงเมืองจีนไม่มีสมรรถนะในการใช้เป็นป้อมรับศึกอีกแล้ว แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่น่าทึ่งในฐานะสถาปัตยกรรมอันสง่างามอย่างหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ
ถึงแม้กำแพงเมืองจีนจะทำให้เห็นการรวมประเทศที่มีความปลอดภัยและในปัจจุบันได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงาม แต่ประวัติศาสตร์ของกำแพงเมืองจีนนั้นยังคงเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานของประชาชนนับแสน นับล้านคน ที่ต้องตายในระหว่างการสร้างกำแพง และความเจ็บปวดของคนที่เสียคนรักไป
ข้อคิดที่ได้จากประวัติศาสตร์กำแพงเมืองจีน
1.ความรักความสามัคคีของคนในประเทศก่อให้เกิดพลังอันยิ่งใหญ่ สามราถทำงานใหญ่ได้สำเร็จ
2.ไม่มีอะไรที่คนเราทำไม่ได้
3.การได้มาซึ่งสิ่งที่ยิ่งใหญ่นั้นบางครั้งก็ซ่อนไว้ด้วยความเจ็บปวดทรมานของประชาชน
4.บางครั้งก็ต้องทนเจ็บปวดทรมานเพื่อแลกกับความปลอดภัยของคนในประเทศและอนาคตของประเทศชาติ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)